จิตวิทยาการรับรู้
การรับรู้ เป็นเหตการณ์ความรู้สึกที่เป็นผลจากกิจกรรมของเซลล์ประสาทสมอง เป็นลักษณะหนึ่งของจิต ไม่ใช่จิตทั้งหมด จัดเป็นประเภทอสสาร สามารถ Observe หรือ Experienceได้ด้วยวิธีพินิจภายใน(Introspection)
การรับรู้ เป็นเหตการณ์ความรู้สึกที่เป็นผลจากกิจกรรมของเซลล์ประสาทสมอง เป็นลักษณะหนึ่งของจิต ไม่ใช่จิตทั้งหมด จัดเป็นประเภทอสสาร สามารถ Observe หรือ Experienceได้ด้วยวิธีพินิจภายใน(Introspection)
.....การรับรู้ หมายถึง การรู้สึกสัมผัสที่ได้รับการตีความให้เกิดความหมายแล้ว เช่นในขณะนี้ เราอยู่ในภาวะการรู้สึก(Conscious)คือลืมตาตื่นอยู่ ในทันใดนั้น เรารู้สึกได้ยินเสียงดังปังมาแต่ไกล(การรู้สึกสัมผัส-Sensation) แต่เราไม่รู้ความหมายคือไม่รู้ว่าเป็นเสียงอะไร เราจึงยังไม่เกิดการรับรู้ แต่ครู่ต่อมามีคนบอกว่าเป็นเสียงระเบิดของยางรถยนต์ เราจึงเกิดการรู้ความหมายของการรู้สึกสัมผัสนั้น ดังนี้เรียกว่าเราเกิดการรับรู้
.....เหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นในเสี้ยววินาที คนทั่วไปจะแยกไม่ออกผมเองก็แยกไม่ออก แต่ผมใช้เหตุผลมาแยกขั้นตอนการเกิดออกได้ คือ เพราะว่าเราอยู่ในภาวะการรู้สึก ดังนั้นเราจึงรู้สึกสัมผัส และเพราะว่าเรารู้สึกสัมผัส ดังนั้นเราจึงรู้ความหมาย เป็นไปไม่ได้ที่เราจะรู้สึกสัมผัสก่อนการรู้สึก และเป็นไปไม่ได้ที่เราจะตีความเสียงดังปังก่อนการรู้สึกสัมผัส ดังนั้นมันจะต้องเกิดเป็นขั้นๆ นับจากขั้นการรู้สึก การรู้สึกสัมผัส การตีความให้รู้ความหมาย อย่างแน่นอน
....ถ้าเราวิเคราะห์กระบวนการเรียนรู้จะได้ดังนี้ คลื่นเสียงเดินทางเข้ากระตุ้นที่หู แล้วเกิดการเปลี่ยนคลื่นเสียงเป็นกระแสประสาท จากนั้นจึงเดินทางต่อไปจนถึงแดนการรู้สึกได้ยินคือAuditory cortex ที่สมองบริเวณขมับ กระบวนการทั้งหมดที่กล่าวมานี้เป็นเหตุการณ์ทางกาย ทางวัตถุ หรือทางสสาร แต่ในทันใดนั้น การรู้สึกได้ยินเสียงก็เกิดขึ้น(การรู้สึกสัมผัส-sensation) กระแสประสาทจากนิวโรนกลุ่มนั้นจะกระตุ้นนิวโรนข้างเคียงต่อๆกันไปเรื่อยๆ จนอ่อนกำลัง เมื่อนิวโรนข้างเคียงได้รับการกระตุ้น (กาย) ความรู้สึก(จิต)ก็เกิดขึ้นด้วยควบคู่กัน แต่ความรู้สึกในคราวนี้เรียกว่า การระลึก(Recall หรือ Retrieval) ผลจากการระลึกนี้จะโยงสัมพันธ์กับการรู้สึกสัมผัสที่เกิดอยู่ก่อนแล้วนั้น ทำให้เกิดการรู้ความหมายขึ้น เรียกว่า การรับรู้
...การรับรู้เป็นเหตุการณ์ทางจิต เกิดจากกิจกรรมของกลุ่มนิวโรน มันจึงต้องเกิดขึ้นในสมอง เพราะนิวโรนเป็นเซลล์ประสาทที่รวมตัวกันเป็นก้อนสมอง ในเมื่อมันอยู่ในสมอง เราจึงดูด้วยตาไม่เห็นแลแม้ว่าเราจะเปิดกระโหลกเข้าไปดูสมองได้ แต่เราก็จะไม่เห็น ความรู้สึกได้ยินเสียง นั้นเลย เพราะมันเป็นอสสาร ไม่มีทางที่เราจะมองเห็นการรู้สึกเจ็บ การรู้สึกรัก ฯลฯ วิ่งไปมาอยู่ในสมองได้เลย ดังนั้น เราต้อง เดา เอาเอง การเดาเอาเองนี้เรียกให้ไพเราะขึ้นก็ว่า เราสันนิษฐาน และผลของการสันนิษฐาน เราเรียกว่าภาวสันนิษฐาน หรือ Construct ที่ได้กล่าวให้ท่านหูอื้อเล่นมาแล้วในเรื่อง Concept นั่นก็คือ การรู้สึกสัมผัสก็ดี การรับรู้ก็ดี เป็น Construct และด้วยเหตุที่มันเป็นผลของกิจกรรมของกลุ่มนิวโรน มันจึงต้องโยงสัมพันธ์กับกลุ่มนิวโรนนั้นๆ ถ้าสักวันหนึ่งเราสามารถมองเห็นกิจกรรมของกลุ่มนิวโรนนั้นๆ(วัตถุ)ที่เกิดควบคู่กับความรู้สึกนั้นๆ(จิต) แล้ว ภาวสันนิษฐานนั้นก็เป็นของจริง(Entity/Fact)
...การรู้สึก การรู้สึกสัมผัส การรับรู้ ต่างก็เป็น ชื่อ ของภาวสันนิษฐานมันต่างก็เป็นลักษณะหนึ่งของจิตในจำนวนลักษณะของจิตที่มีอยู่มากมาย ภาวสันนิษฐานเหล่านี้ครั้งหนึ่งเคยถูกปฏิเสธจากกลุ่มพฤติกรรมนิยมแบบ Radical ยังผลให้การวิจัยเรื่องจิตเงียบหายไปราว 60 ปี บัดนี้เราได้เข้าไปศึกษาจิตอีกครั้งหนึ่ง ด้วยความสนุกสนานมากกว่าเดิม และรวดเร็ว เพราะได้ยืมเครื่องมือสำคัญของ Behaviorism มาใช้ คือ Scientific Method หรือ Empirical Research ภายใต้ธงที่ชื่อCOGNITIVE PSYCHOLOGY